ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7291 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (2000) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7291 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 84 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6896 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 107 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
 
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด / ผู้เข้าชม : 3660 คน

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่ตี๋ ฉันทธัมโม วัดท่ามะกรูด

หลวงปู่ตี๋ ฉันทธัมโม เดิมชื่อ วิทยา น้ำดอกไม้ เป็นบุตรชายคนโตของ นายห้อย น้ำดอกไม้ และ นางกิมบี้ แซ่แต้ บิดาเป็นคนราชบุรี มารดาเป็นคนอำเภอสองพี่น้อง เมื่อทั้งสองแต่งงานกันแล้วจึงอพยพโยกย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่ตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โดยยึดอาชีพค้าขาย มีบุตรด้วยกัน 5 คน เป็นชาย 4 คน เป็นหญิง 1 คน

หลวงปู่ตี๋ เกิดที่ตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2467 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ปีชวด โยมห้อยผู้เป็นบิดานั้นเป็นช่างก่อสร้างและช่างฝีมือประจำวัดหัวเขารุ่นเก่า ในยุคสมัยที่ยังมี หลวงพ่ออิ่ม สิริปุญโญ อดีตปรมาจารย์นามกระเดื่องเป็นเจ้าสำนัก ขณะนั้นวัดหัวเขาได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างมณฑปบนยอดเขาซึ่งนับว่าเป็นงานอันสำคัญ หลวงพ่ออิ่มจึงมอบหมายให้ช่างห้อยบิดาของท่านเป็นผู้ควบคุมดำเนินงาน หลวงปู่ตี๋ ซึ่งอยู่ในวัยเด็กก็ได้มีโอกาสติดสอยห้อยตามบิดามาอยู่กินนอนที่วัดหัวเขาเป็นประจำ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเลื่อนไปเป็นปี จนกระทั่ง หลวงปู่ตี๋ เติบโตวิ่งเล่นเป็นเด็กวัดหัวเขาไปโดยปริยาย ซึ่งนั่นอาจหมายถึงคำว่าบุญวาสนาที่เป็นกุศลผลกรรมอันน่ายินดี

ที่ในกาลต่อมา หลวงปู่ตี๋ ได้กลายมาเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่ออิ่ม ที่ท่านรักและเฝ้าฝากฝังไว้กับบรรดาพระภิกษุต่างๆ ที่มาเรียนวิชากับท่านในยุคนั้น โดยเฉพาะกับ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ นั้น หลวงพ่ออิ่มท่านเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเด็กน้อยผู้นี้นั้นท่านเห็นแววแห่งอนาคตอันจะบังเกิดขึ้นต่อไปในภายภาคหน้า กับคำทำนายของท่านที่ว่า ต่อไปไอ้ตี๋คนนี้จะบวชไม่สึก ฝากให้ท่านมุ่ยช่วยเป็นธุระสั่งสอนถ่ายทอดวิชาให้มันด้วย แม้แต่ในหมู่ศิษย์ยุคหลังอย่าง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ที่มาเรียนวิชาที่วัดหัวเขา หลวงพ่ออิ่มท่านก็ไม่ลืมที่จะออกปากฝากเด็กน้อยก้นกุฏิอย่าง หลวงปู่ตี๋ ด้วย ดังปรากฏจากมรดกของหลวงพ่ออิ่มที่ท่านได้เมตตามอบตำราให้ไว้เล่มหนึ่ง โดยฝากไว้กับนายห้อยผู้เป็นบิดา บอกว่าเก็บไว้ให้ไอ้ตี๋มันด้วย 

สำหรับนายห้อยนั้นหลังจากที่เจ้าสำนักวัดหัวเขาได้ละสังขารไปเมื่อปี พ.ศ.2481 แล้ว ก็คงมีชีวิตอยู่ยืนยาวมาอีกนานหลายปี แม้จะมีอุปัทวเหตุต่างๆ หลายครั้งหลายหนก็ไม่เคยได้รับอันตรายอะไรทั้งสิ้น หลายคนเชื่อว่ามาจากวาจาสิทธิ์ที่ปรมาจารย์แห่งวัดหัวเขาได้ประสิทธิ์ประสาทพรอันศักดิ์สิทธิ์ให้ไว้ในกาลก่อนว่า ?คนอย่างมึงมันไม่ตายง่ายๆ หรอก มึงต้องอยู่รอเอาตำราให้ไอ้ตี๋มันก่อน? และนายห้อยก็ตายยากอย่างที่หลวงพ่ออิ่มว่าไว้จริงๆ ตั้งแต่ครั้งที่ตกนั่งร้านศาลาวัดท่าช้างแล้วไม่เป็นอะไร ต่อมาได้ตกนั่งร้านแถวๆ ท่าข้าม และที่ฮือฮาอย่างมากก็คือคราวขึ้นไปปั้นลายประดับบนยอดปล่องเมรุวัดหัวเขา แกก็พลัดตกลงมาจากยอดเมรุที่สูงลิ่วหล่นลงพื้นท่ามกลางสายตาผู้คนที่เห็นเหตุการณ์มากมาย มีผู้เห็นเหตุการณ์ช่วยเอายาหม่องวนจมูก บีบๆ นวดๆ เท่านั้นแกก็ฟื้นมาเฉยๆ ไม่เป็นอะไรทั้งสิ้น จนกระทั่งมาเสียชีวิตเอาเมื่อปี 2520 ในวัยใกล้ร้อยปีทีเดียว

สำหรับ หลวงปู่ตี๋ นั้นนับตั้งแต่วันที่หลวงพ่ออิ่มมรณภาพลงในปี 2481 ซึ่งเจ้าอาวาสรูปต่อมาก็คือ พระครูอเนกคุณากร (หลวงพ่อแขก) เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวเขา ก็ยังคงอุปถัมภ์ค้ำชู หลวงปู่ตี๋ ต่อมาโดยตลอด ทั้งสอนวิชาต่างๆ ให้โดยไม่มีปิดบัง ขณะนั้นหลวงปู่ท่านอยู่วัดหัวเขาก็เรียนหนังสือขอมพร้อมบาลี จนกระทั่งอายุได้ 15 ปี (พ.ศ.2482) ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่รับใช้หลวงพ่อแขกราว 5 พรรษา จนถึงอายุครบ 20 ปี จึงเข้าพิธี อุปสมบทที่วัดเขาพระ ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2487 เวลา 09.39 น. โดยมี พระครูอเนกคุณากร (หลวงพ่อแขก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า ฉันทธัมโม ภิกขุ อยู่วัดหัวเขาเรียนวิชากับหลวงพ่อแขกได้ 10 พรรษา

จนล่วงถึงปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อแขกผู้เป็นอุปัชฌาจารย์เห็นว่า อันวิชาความรู้ต่างๆ ก็มีอยู่พอจะรู้รักษาตน สามารถประคองเพศพรหมจรรย์ให้ยั่งยืนเป็นที่พึ่งแก่หมู่ชนทั้งในภายภาคหน้า จึงเห็นสมควรแก่เวลาที่จะแนะนำพระเถระสำคัญยิ่งอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์รุ่นน้องของท่านเองที่กำลังเลื่องลือเกียรติคุณเป็นอย่างมากอยู่ในขณะนั้น ซึ่งนั่นก็คือ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อดีตพระเกจิอาจารย์นามอุโฆษแห่งเมืองสุพรรณนั่นเอง

หลวงปู่ท่านเล่าว่า เมื่อมาถึงวัดดอนไร่ ทันทีที่เข้าไปกราบนมัสการแล้ว พระเดชพระคุณท่านหลวงพ่อมุ่ยนั้นยังคงจำหลวงปู่ได้ดี ถึงเด็กวัดก้นกุฏิอาจารย์ใหญ่วัดหัวเขาที่ท่านเคยเฝ้าฝากฝังเอาไว้ตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน ทันทีที่กราบเรียนแจ้งความประสงค์กล่าวถึงองค์อาจารย์ผู้แนะนำให้มาหา ?เพียงเพื่อแวะมากราบนมัสการโดยที่ยังไม่ได้ตระเตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาให้ทันกับวันเวลา ครั้นถึงเวลาหน้าเกล้ากระผมจะกลับมาใหม่? แต่ด้วยเมตตาธรรมแห่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยผู้มากล้นเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรม ก็ไม่รอช้าจูงมือภิกษุหนุ่มที่นั่งพนมมืออยู่ตรงหน้าเข้ากุฏิเริ่มสอนวิชาให้ในทันที โดยที่ยังไม่ทันได้เตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาแม้แต่กำเดียว ว่ากันว่าอันสรรพวิชาต่างๆ ที่บังเกิดมีและปรากฏให้เห็นเป็นองค์วิชาอันเข้มขลังและอัศจรรย์ใจในภาพของ หลวงปู่ตี๋ ที่เราทั้งหลายทั้งปวงรู้จักกันนั้น เริ่มปรากฏแสงอันเรืองรองมาจากพื้นฐานที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยเป็นผู้ปูพื้นฐานวางไว้ให้ทั้งสิ้น ตั้งแต่การสำเร็จกสิณไฟเป็นเบื้องต้นจนถึงการปลุกเสกอักขระเลขยันต์แคล้วคลาดคงกระพันมหาอุดสารพัดสุดจะพรรณนา ก็ล้วนแต่สำเร็จมาจากสรรพวิชาการอบรมวางพื้นฐานจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยทั้งสิ้น ท่านคร่ำเคร่งฝึกฝนกับหลวงพ่อมุ่ยอยู่นานราว 8 ปี

ล่วงเข้าปี พ.ศ.2505 หลวงปู่ตี๋ ในขณะนั้นก็เจริญก้าวหน้าในสรรพวิชาต่างๆ แก่กล้าเจนจบในวิชาอาคมสูงส่งจนเป็นที่พอใจของอาจารย์ ซึ่งเริ่มปรากฏความขลังทางด้านนี้มาตั้งแต่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ที่หัวเขาในยุคหลวงพ่อแขกยังอยู่ด้วยซ้ำไป ที่เล่าลือกันก็คือเรื่องที่ หลวงปู่ตี๋ ได้ใช้วิชาอาคมอำนาจแห่งจิตอันแก่กล้าอันเป็นผลจากการฝึกฝนมาจนชำนาญจากรากฐานวิชาแห่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยนั้น ปราบเปรตที่วัดหัวเขาจนสิ้นฤทธิ์ ซึ่งชาวบ้านมักเรียกกันว่า เปรตต้นสำโรง อันเป็นสถานที่สิงสู่ที่อยู่ท้ายวัดติดกับป่าช้าที่น่าสะพรึงกลัว โดยมักปรากฏว่ามีเปรตเที่ยวหลอกหลอนผู้คนจนเข็ดขยาดไปตามๆ กัน ค่ำคืนหนึ่ง หลวงปู่ตี๋ ออกมาเดินจงกรมรออยู่ที่ต้นสำโรง ดังที่ท่านคาดไว้ไม่ผิด เพียงเวลาผ่านไปไม่นานก็ปรากฏร่างเปรตตนหนึ่งสำแดงตนขึ้นมาต่อหน้า ร่างกายสูงใหญ่จนพ้นยอดสำโรงส่งเสียงร้องโหยหวนชวนให้น่าหวั่นไหวเป็นอย่างยิ่ง ด้วยจิตที่สงบนิ่งอันมาจากการฝึกฝนมาอย่างดียิ่ง ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้านั้น ไม่ได้ทำให้หลวงปู่ท่านหวั่นไหวแม้แต่น้อย ท่านเอาไฟฉายส่องขึ้นไปดูพอเห็นหน้าเปรตที่ยืนค้ำทะมึนอยู่ก็จำได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านแถวๆ นั้นนั่นเอง ซึ่งท่านเคยรู้ว่าสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่มักมีเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดที่ชอบยักยอกขโมยหยิบฉวยเอาไปไว้ที่บ้านอยู่เป็นอาจิณ พอหมดดับจิตสิ้นชีวิตจากความเป็นมนุษย์ที่สูงส่ง ผลแห่งกรรมอันหนักหนาก็ยังผลให้ไปเป็นเปรตอยู่ไปนานนับกัปกัลป์ ทันทีที่ท่านเห็นหน้าคนที่เคยรู้จักในร่างเปรตก็ปลงสังเวชในเวรกรรมที่มันต้องมาชดใช้ หลวงปู่ท่านแผ่เมตตาให้จนกระทั่งเสียงร้องโหยหวนนั้นค่อยๆ พลันจางหายไป

คืนนั้นหลวงปู่ท่านเลือกเอากุฏิหลังหนึ่งเป็นที่จำวัด เนื่องจากเหตุที่ว่าอยู่ใกล้ต้นสำโรงที่ว่า กุฏิหลังนี้จึงไม่ค่อยมีใครกล้ามาเหยียบ ภาพที่จะบรรยายได้ก็คือกุฏิไม้ทรงไทยโบราณที่เก่าแก่แทบทุกหลังนั้น น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ทุกๆ ห้องจะต้องมีไม้กระดานพาดอยู่บนขื่อเป็นทางเดินระหว่างจั่วอยู่แทบทุกหลัง พอหลวงปู่กลับขึ้นกุฏิเพื่อเข้าจำวัดจัดแจงปัดกวาดสถานที่เรียบร้อยสวดมนต์แผ่เมตตาเสร็จก็เตรียมตัวจำวัด ขณะเอนกายลงนอนหันหน้าขึ้นมองหลังคา พลันสายตาก็เห็นผีสองตัวนั่งชันเข่าอยู่บนขื่อ ไอ้ตัวแรกไต่ตามไม้กระดานที่พาดนั้น ค่อยๆ กระเถิบมาเรื่อยดูผมเผ้าของมันยาวรุงรังคลุมเลยหน้ายาวลงมาคลุมกระดานเป็นที่น่าเกลียดน่ากลัว พอมันคลานมาถึงตำแหน่งที่หลวงปู่นอนไอ้ผีตัวแรกก็กระโดดลงใส่ทันที ฉับพลันก่อนที่มันจะถึงตัวหลวงปู่ท่านก็พลิกหนี เสียงมันกระแทกพื้นดังโครมสนั่น ทันทีที่หลบทันท่านก็คว้าผ้าไตรที่วางอยู่หันกลับมาฟาดมันอย่างแรง ไอ้ผีสองตัวทั้งที่อยู่บนพื้นและที่อยู่บนขื่อก็พลันหายจ้อย หลวงปู่เล่าว่าขนาดแผ่เมตตาให้แล้วมันยังไม่เลิกรา ไหนๆ กูก็ศิษย์มีครูเล่นกับกูอย่างนี้ ท่านก็เลยทำวิชาผูกผีเสียในคืนนั้น หลวงปู่ว่าวิชาที่ท่านใช้มัดและอำนาจมนต์ที่ท่านลงกำกับเอาไว้นั้นจะคงอยู่ไปอีกนานแสนนาน จนกว่าผีเปรตทั้งสองนั้นจะสิ้นกรรมที่เคยทำมา จบเรื่องเปรตต้นสำโรงในคืนนั้นก็ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้ใดได้พบเห็นเหตุการณ์ใดๆ อีกเลย

ต่อมาอีกครั้งที่หอสวดมนต์วัดหัวเขาซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าผีดุเหลือจะกล่าว พระเจ้ามันหลอกไม่มีเว้น เมื่อเล่าถึงเรื่องนี้ก็ต้องขยายไปถึงต้นเรื่องที่ มหาตู่ หรือ นายปฐวี น้ำแก้ว ผู้เป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่ตี๋ ในปัจจุบันนี้ได้กรุณาให้ข้อมูล จึงต้องลำดับที่มากันก่อน เนื่องจากมหาตู่ผู้นี้นั้นแกเป็นเด็กวัดหัวเขามาตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น สาเหตุก็เนื่องจาก นายยอด น้ำแก้ว ผู้เป็นบิดาของมหาตู่นั้นได้ตัดสินใจสละเพศฆราวาสโดยออกเรือนมาบวชที่วัดหัวเขา แกบวชอยู่นานจนชาวบ้านเรียกกันว่า อาจารย์ยอด บวชนานจนกระทั่งได้เป็นคู่สวดของหลวงพ่อแขกในเวลาต่อมา มหาตู่ก็เลยกลายมาเป็นเด็กวัดอยู่กับบิดา แปลกอยู่อีกอย่างหนึ่งก็คือมหาตู่นั้นเป็นเด็กที่ชอบท่องคาถาสนใจวิชาอาคม จนผู้เป็นบิดาคือ อาจารย์ยอด เห็นแววเรื่องคาถาอาคมก็เลยยกให้เป็นศิษย์ อาจารย์ตี๋ ที่อยู่ร่วมสำนักกัน เพราะในขณะนั้น หลวงปู่ตี๋ ยังไปๆ มาๆ ระหว่างวัดหัวเขากับวัดดอนไร่ เพื่อพากเพียรเรียนวิชาอยู่นานหลายปี ถึงเวลาที่ อาจารย์ตี๋ มาวัดดอนไร่คราใด เด็กชายตู่ครั้งนั้นก็กลายเป็นศิษย์ติดตามสะพายย่ามให้ อาจารย์ตี๋ แทบทุกครั้ง สำหรับ อาจารย์ตี๋ นั้นถึงแม้จะเป็นแค่พระลูกวัดธรรมดาๆ แต่หากว่านับเอาวิชาอาคมหรือว่าสมาธิจิตแล้วนั้น พระภิกษุหนุ่มอย่าง อาจารย์ตี๋ ในเวลานั้นไม่เป็นรองใครในวัดหัวเขาทั้งสิ้น

แม้แต่กระทั่งหลวงพ่อแขกผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็ตามที ดังเรื่องที่ท่านต้องส่งมาเรียนวิชากับหลวงพ่อมุ่ยดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น สำหรับหลวงพ่อแขกนั้นแม้จะเป็นศิษย์รุ่นพี่โดยที่หลวงพ่อมุ่ยเป็นเพียงศิษย์รุ่นน้อง แต่ความแก่กล้าในวิชาอาคมนั้นท่านยกย่องยอมรับหลวงพ่อมุ่ยมาตั้งแต่ต้นจนเป็นที่รู้กันในหมู่ศิษย์วัดหัวเขารุ่นเก่ากันมาว่า ในบรรดาศิษย์หลวงพ่ออิ่มทั้งหมดนั้นหลวงพ่อมุ่ยนับว่าเป็นเลิศกว่าศิษย์ร่วมสำนักทั้งปวง แม้แต่หลวงพ่ออิ่มผู้เป็นอาจารย์ยังออกปากถึงความเป็นเลิศดังกล่าว ดังมีปรากฏในสมุดบันทึกหลวงพ่ออิ่มที่ อาจารย์ตี๋ ได้รับมาเป็นมรดกนั้นก็ยังกล่าวยกย่องถึงท่านมุ่ยวัดดอนไร่ไว้หลายครั้งหลายตอน จึงไม่แปลกที่ หลวงปู่ตี๋ ในฐานะศิษย์วัดดอนไร่จะทำให้เสียชื่อเสียง ครั้งหนึ่งอาจารย์ยอดขึ้นไปนั่งสานตะกร้าบนหอสวดมนต์ ขณะที่กำลังนั่งสานตะกร้าเพลินๆ ก็เห็นผีตัวหนึ่งขึ้นไปนั่งอยู่บนไม้กระดานที่พาดอยู่บนขื่อ เดี๋ยวนั่ง เดี๋ยวไต่ ไปตามไม้กระดาน มันทำอยู่นานจนเห็นว่าไม่กลัวก็ออกมาโผล่หน้าที่ช่องหน้าต่างแทน อาจารย์ยอดเริ่มรำคาญก็เอาตะกร้าที่กำลังสานอยู่ตีที่หน้ามันหลายครั้ง ตีจนกระทั่งก้นตะกร้ายุบผีมันก็ยังไม่หนี แกจึงลงมาตาม หลวงปู่ตี๋ ไปจัดการเพราะรำคาญเต็มทน หลวงปู่ท่านชวนมหาตู่ขึ้นมาที่หอสวดมนต์ด้วยกัน จัดแจงเอาเทียนสองเล่มมาปักบนพื้นแล้วนั่งสมาธิเพ่งไปยังเปลวเทียน ชั่วครู่เปลวเทียนที่สงบนิ่งก็พลันเริ่มสว่างและพุ่งสูงขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งสว่างไสวไปทั่วบริเวณ เปลวเทียนพุ่งสูงถึงหลังคาหอสวดมนต์ จากนั้นก็หักมุมออกไปด้านข้างพุ่งเปลวอันร้อนแรงออกไปยังหน้าต่าง มหาตู่ขณะนั้นยังเป็นเด็กน้อยไม่ค่อยรู้อะไรเอาแต่นั่งเกาะเอวหลวงปู่ด้วยความกลัว เมื่อเห็นเหตุการณ์ก็เดาเอาว่าหลวงปู่น่าจะเพ่งกสิณไฟเพื่อไปเผาผี เพราะนับจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครพบเห็นผีที่หอสวดมนต์อีกเลย

หลวงปู่เฝ้าพากเพียรเดินทางไปมาหาสู่ยังวัดดอนไร่มิได้ย่อท้อนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 เป็นต้นมา ด้วยความที่มากด้วยพรรษาคุณธรรมมโนธรรมที่สั่งสมอบรมมาโดยลำดับ ยังเป็นที่วางใจในองค์อาจารย์เป็นอย่างยิ่งและในฐานะศิษย์รักท่านสั่งสอนมากับมือ  ถึงเวลาที่จะต้องส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้าในวิทยฐานะที่คู่ควร จนกระทั่งในปี 2509 วัดกระเสียวขาดเจ้าอาวาสที่จะปกครอง หลวงพ่อมุ่ยในฐานะเจ้าคณะตำบลหนองสะเดาได้ส่ง หลวงปู่ตี๋ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกระเสียว ซึ่งเป็นวัดหนึ่งในเขตปกครองของท่าน วัดกระเสียวเป็นวัดที่มีทำเลดีมีอาณาเขตติดกับ อ.เดิมบางนางบวช โดยมีคลองกระเสียวเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอ เมื่อหลวงปู่ไปอยู่ก็มีผู้เคารพนับถือทางเครื่องรางของขลังมากเป็นลำดับ เวลาที่มีชาวบ้านแถบวัดกระเสียวมาหาหลวงพ่อมุ่ยท่านก็มักเปรยๆ ให้ฟังเสมอว่า ?ที่กระเสียวก็มีดอกบัวบานอยู่ทำไมไม่ไปหากัน? แต่ด้วยความแตกต่างระหว่างหลวงพ่อมุ่ยนั้นท่านเป็นพระที่พูดน้อยหรือแทบไม่พูดเลยและเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรมอย่างล้นเหลือ ซึ่งยังไม่นับอำนาจตบะเดชะความแก่กล้าแห่งจิตตานุภาพที่ยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก จนยากที่จะหาพระเถระรูปใดๆ มาเทียบเคียงได้เสมอเหมือน

เมื่อตอนที่ พระปลัดทวี วัดบ้านกร่าง สร้างพระขุนแผนรุ่นจงอางศึก และรุ่นกองพลเสือดำนั้น ได้นิมนต์ หลวงพ่อมุ่ย ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ปรากฏว่าท่านนั่งเสกอยู่นานเสกเสร็จเป็นรูปสุดท้าย พอลืมตาขึ้นก็เอามือตบเข่าเบาๆ พระขุนแผนที่กองอยู่นั้นก็กระเด็นซู่ซ่ากระจายเป็นวงกว้างอยู่ตรงเบื้องหน้าท่านเป็นรัศมี ด้วยอำนาจแห่งจิตของท่านครั้งนั้นเป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้มาร่วมพิธีเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่พระเถระต่างๆ ที่มาร่วมพิธีในครั้งนั้น ก็ยังอดไม่ได้ที่จะเดินมาหยิบพระขุนแผนที่ว่า โดยเลือกเอาเฉพาะตรงหน้าหลวงพ่อมุ่ยที่กระเด็นขึ้นมานั้นใส่ย่ามไปเป็นกำมือ ซึ่งนั่นคือเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นสำหรับหลวงพ่อมุ่ยเมืองสุพรรณผู้ยิ่งใหญ่

ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รวมอายุได้ ๘๕ ย่าง ๘๖ ปี พรรษาที่ ๖๕ ที่วัดท่ามะกรูด

** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ
 
 

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

ชุดน้ำยาทำผิวรุ้ง ผิวสวย พระเครื่องเนื้อทองแดง 

500 บาท


ชุดน้ำยารมดำและน้ำตาล ทองเหลือง ทองแดง 

450 บาท


น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

250 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด