ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7292 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (2001) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7292 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 85 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6896 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 107 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
 
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด / ผู้เข้าชม : 2506 คน

หลวงปู่ผาด ฐิติปัญโญหรือพระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์ มีนามเดิมว่าผาด นามสกุล ดิบประโคน เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2455 (ตามเอกสารที่ออก แต่ที่จริงท่านเกิดก่อนนั้น 2 ปี คือ ปี 2453 จากคำบอกกล่าวของท่าน เพราะเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วยังไม่มีการทำเอกสารการเกิดอย่างชัดเจน) ณ บ้านกรวด เลขที่ 36 หมู่ 3 ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย บิดาคือ นายเอี้ยง เสาเปรีย มารดาคือนางเตียบ นามสกุลเดิม ดิบประโคน อาชีพกสิกรรม มีพี่น้องทั้งหมด 4 คนล้วนเป็นชายคือ 1.นายนาค เสาเปรีย(ถึงแก่กรรมแล้ว) 2.นายเพือ เสาเปรีย(ถึงแก่กรรมแล้ว) 3.นายผาด (หลวงปู่ผาด) 4. นายมนต์ เสาเปรีย

ชีวิตในวัยเด็กหลวงปู่ผาด ท่านเป็นเด็กเรียบร้อย อยู่ในโอวาทบิดามารดามากไม่เคยนำความทุกข์ร้อนลำบากใจมาสู่ครอบครัว ท่านเป็นคนขยันขันแข็งช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้าน ทั้งหุงหาอาหาร เลี้ยงควาย ตามประสาครอบครัวชนบทที่ยังห่างไกลความเจริญ ดังนั้นหลวงปู่ผาดและพี่ๆน้องๆจึงไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยยังไม่มีโรงเรียนเปิดสอน

ก่อนที่หลวงปู่ผาดจะบวชเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ หลวงปู่ได้ช่วยงานทางบ้านจนอายุได้ 18 ปี จึงขออนุญาตบิดาและมารดา บรรพชาเป็นสามเณร บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดประทุมทอง ตำบลทุ่งมล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ราว พ.ศ.2472 ท่านได้ศึกษาอักษรขอมเป็นส่วนมากเพราะภาษาไทยยังไม่แพร่หลายเข้ามายังชายแดนที่ห่างไกลความเจริญแถบนั้นมากนัก หลวงปู่ผาดอยู่ศึกษาหาความรู้ที่วัดประทุมทอง 2 ปี จึงลาสิกขาบท ด้วยโยมพ่อท่านได้ล่วงลับทิ้งให้โยมแม่เป็นผู้แบกภาระแต่ผู้เดียวหลวงปู่ผาดในสมัยนั้นจึงได้ลาสิกขาบทแล้วไปทำไร่ ทำนา ในบางครั้งที่ร่างกายท่านรับสภาพไม่ไหว ก็ผลัดเปลี่ยนกับพี่น้องแต่กระนั้นท่านก็ไม่เคยปริปากบ่น ท่านช่วยแบ่งเบาภาระโยมแม่อีก 3 ปีจนหลวงปู่อายุได้ 22 ปี ท่านจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านกรวด ตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย(สมัยนั้น) จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2476 ได้รับฉายาว่า " ฐิติปญฺโญ " โดยมีพระครูบริหารกิจโกศล (มอก) วัดจำปา ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์(ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอประโคนชัยด้วย) มีพระปลัดพอก เจ้าอาวาสวัดโคน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเนียด วัดจันดุม อำเภอประโคนชัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่ผาดได้จำพรรษาที่ วัดบ้านกรวด ตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย(สมัยนั้น)จังหวัดบุรีรัมย์ ในตอนนั้นมีหลวงพ่อหริ่ง อินฺทวํโส เป็นเจ้าอาวาส หลวงปู่ผาดได้อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยในวัดบ้านกรวด 4 พรรษา ได้มีศรัทธาญาติโยมจากบ้านอำปึล เขตอำปึล จังหวัดปันเตียนเมียนเจย ประเทศกัมพูชา มานิมนต์พระจากฝั่งไทยไปจำพรรษาที่วัดอำปึล หลวงพ่อหริ่งจึงได้ให้ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น เพื่อเป็นการฉลองศรัทธาของญาติโยม หลวงปู่ผาดจึงได้เก็บอัฐบริขารแล้วกราบลามุ่งสู่วัดบ้านอำปึล ใช้เวลาเดินทางด้วยการเดินเท้า 1 วันเต็มตามเส้นทางป่าเขาลำเนาไพรที่แสนวิเวกและสงบหลวงปู่ผาดอยู่โปรดญาติโยมฟากโน้นพอสมควรร่วม 8 ปี ท่านจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านกรวดแต่ก็ยังเมตตาไปโปรดสาธุชนบ้านอำปึลอีกเป็นครั้งคราว จึงถือกันว่าหลวงปู่ผาดท่านเป็นอรหันต์ 2 แผ่นดิน

หลวงปู่ผาดหลังจากบวชแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์จาริกไปยังสถานที่ต่างๆรวมทั้งประเทศเขมรและใช้เวลาในการจำพรรษาอยู่ในประเทศเขมรหลายปี จนเป็นที่เคารพนับถือของคนในแถบนั้น ท่านได้ช่วยสร้างวัดและอุโบสถบริเวณแถบปราสาทบันเตยชมาร์หรือบันทายฉมาร์ เพราะความเป็นที่เคารพนับถือจากชาวบ้านเป็นจำนวนมาก จากคำบอกเล่าท่านได้ถูกทหารฝรั่งเศสจับตัวกักขังไว้ ต่อมาปรากฏว่าท่านได้หายสาบสูญไปจากสถานที่กักขัง โดยเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง ชาวบ้านท้้งสองดินแดนต่างเคารพยกย่องนับถือท่าน จนเป็นที่มาของสมญานามว่า พระอรหันต์ 2 แผ่นดิน(
ปราสาทบันทายฉมาร์ ตั้งอยู่ใน อ.ทมอพวก จ.บันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา การเดินทางจากเมืองไทยที่สะดวกที่สุด ข้ามแดนที่ จ. สระแก้ว ด่านอรัญประเทศ-ปอยเปต)

เมื่อหลวงปู่ผาด ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดบ้านกรวดได้ 6 พรรษา ราวปี 2513 หลวงปู่จึงได้สร้างวัดบ้านตาอี หมู่ที่ 15 โดยมีหลวงพ่อทอง อโสโก วัดจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ,หลวงพ่อแป๊ะ กนฺตสีโล พร้อมด้วยญาติโยมบ้านตาอี บ้านโคกเบง บ้านเขาดินใต้ เป็นผู้สนับสนุน หลวงปู่ผาดได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านตาอี พร้มดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเวลา 10 ปี มีการก่อสร้างถาวรวัตถุอาทิ ศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิที่พักสงฆ์อีก 7 หลัง ขุดสระน้ำ ซึ่งการก่อสร้างได้ลุล่วงไปด้อย่างรวดเร็ว

ต่อมาหลวงปู่ผาดและหลวงพ่อแป๊ะ ได้เริ่มสร้างวัดตาปาง หมู่ที่ 7 ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฎิที่พักสงฆ์ 2 หลัง โดยมีหลวงตาดิน รักษาการเจ้าอาวาส จากนั้นหลวงปู่ผาด ได้ริเริ่มสร้างวัดปราสาททอง ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านได้เป้นหัวเรี่ยวหัวแรงสร้าง โรงครัว 1 หลัง กุฎิที่พักสงฆ์ 1 หลังถือได้ว่าหลวงปู่ผาดท่านเมตตาเป็นผู้สร้างประโยชน์ต่อพระศาสนาโดยแท้ ในช่วงที่หลวงปู่ผาดเป็นเจ้าอาวาสวัดตาอีอยู่นั้น พอปี พ.ศ.2520 พระครูเขมวัตรวิธูร(หลวงพ่อหรีก)เจ้าอาวาสวัดบ้านกรวด ได้มรณภาพลงทำให้วัดว่างจากเจ้าอาวาส มีเพียงพระอาจารย์ภาพ โกสโล พรรษา 10 และพระอาจารย์พรชัย โอภาโส พรรษา 8 ช่วยกันดูแลปกครองพระเณรในวัด พระเณรในวัดพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาจึงได้ไปกราบอาราธนานิมนต์หลวงปู่ผาดกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรวด ญาติโยมทางบ้านตาอีทักท้วงต่อมาจึงได้ยินยอม แต่ขอหลวงปู่อย่าได้ทิ้งวัดตาอี คือให้หลวงปู่เป็นเจ้าอาวาสทั้ง 2 วัดแรกๆท่านไปๆมาๆแต่ภายหลังท่านได้มอบหมายให้ หลวงพ่อนิน อนุตฺตโร ปกครองวัดตาอีแทนท่าน หลวงปู่ผาดจึงได้จำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกรวดนับแต่นั้นมา หลวงปู่ผาด ฐิติปณฺโญ เป็นอมตเถราจารย์อิสานใต้ 5 แผ่นดิน
คนห้าแผ่นดิน ในที่นี้ หมายถึงคนที่มีชีวิตอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ภายใต้ร่มบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย 5 รัชกาล 

คนห้าแผ่นดิน ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันหมายถึงคนที่เกิดหรือเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 คือ ก่อนเวลา 00.45 นาฬิกาของเช้าวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 และยังมีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ เท่ากับว่าคนนั้นจะมีชีวิตอยู่ใน 5 แผ่นดิน คือ อยู่ในแผ่นดิน 
- สมเด็จพระปรมินทรามหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
- พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 
- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ 
- พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ 

ถ้านับอายุถึงปี พ.ศ.2550 โดยถือเอาเวลาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม วันกลางปีเป็นหลัก คนห้าแผ่นดิน ตามความหมายที่กล่าวมาข้างต้นก็จะมีอายุตั้งแต่ 96 ปี 8 เดือน 8 วันขึ้นไป มีพรรษากาลกว่า 100 ปี มีจิตตานุภาพอันแก่กล้าจนแม้แต่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ เทพเจ้าแห่งด่านขุนทด ยังกล่าวยกย่องกับญาติโยมที่มากราบท่านว่า ให้ไปกราบหลวงปู่ผาด ทั้งยังเรียกหลวงปู่ผาดว่า หลวงพ่อใหญ่ แม้หลวงปู่ผาด จะมีพรรษากาลสูง แต่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงผิดกับคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ท่านเป็นพระที่พูดน้อย มักน้อย ไม่ฝักใฝ่ในลาภยศ นิยมในการถือสันโดษ ดำรงตนอย่างเรียบง่าย มีเมตตาไม่มีประมาณ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างและปลุกเสกให้ล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์รับรู้กันในหมู่คนที่นับถือท่านอย่างยิ่งยวดเลยทีเดียว หลวงปู่ผาด ท่านได้มรณะภาพในวันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 11.58 น. รวมอายุได้ 105 ปี 8 เดือน 2 วัน 85 พรรษา ที่จริงอาจารย์ของหลวงปู่ผาดชื่อหลวงปู่ริง สุวรรณโชติองค์ที่หลวงปู่ผาดยืนยันว่าเป็นเพื่อนคู่หูกับหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง แต่บางทีเข้าใจว่าชื่อหรีก อินทวังโส แต่หลวงปู่หรีกฉายาจริงๆคือ อินทปัญโญ หรือพระครูเขมวัตรวิธูร เจ้าอาวาสองค์ก่อนเพื่อนแท้ๆของหลวงปู่ผาด ในเหรียญหลวงปู่หริ่งช่างแกะ เขียนฉายาผิด เป็นอินทวัง โส ซึ่งวัดบ้านกรวดสร้างแจกงานถวายเพลิงท่านประมาณปี 2520

หลวงปู่ผาด มรณะภาพอย่างสงบ ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 11.58 น. สิริอายุ 104 ปี 8 เดือน 2 วัน พรรษา 85 พรรษา

** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ
 
 

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

ชุดน้ำยาทำผิวรุ้ง ผิวสวย พระเครื่องเนื้อทองแดง 

500 บาท


ชุดน้ำยารมดำและน้ำตาล ทองเหลือง ทองแดง 

450 บาท


น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

250 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด