ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (1999) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 85 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6895 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 106 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
 
หลวงปู่วาส วัดสะพานสูง / ผู้เข้าชม : 1149 คน

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่วาส วัสะพานสูง

หลวงปู่วาส สีลเตโช วัดสะพานสูง เอกอุแห่งเมืองปากเกร็ด จ.นนทบุรี

ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ตรงกับปีทื่หลวงพ่อวาส สีลเตโช ท่านเป็นหางนาคเตรียมตัวบวช ณ พัทธสีมาวัดสะพานสูง ในยุคนั้นการบวชไม่เหมือนกับปัจจุบันผู้จะบวชต้องมาลงชื่อขอบวชก่อน ส่วนวันบวชขึ้นอยู่กับหลวงปู่กลิ่น ฯ ท่านจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะบวชพร้อมกันทั้งหมด ในวันเดียวกัน ไม่ใช่นาคจะเป็นผู้เลือกวันบวช ถึงกำหนดต่างคนต่างแห่นาคมาที่วัด ใครลงชื่อก่อนก็บวชก่อน บวชเป็นคู่ ๆ เรียงตามลำดับกันไป ไม่มีการจัดโต๊ะจีนเลี้ยงฉลองกันเหมือนปัจจุบัน การเดินทางยากลำบากไม่เหมือนปัจจุบัน ถ้ามาทางเรือก็สะดวกหน่อย สมัยก่อนของที่จะถวายพระไม่ว่าจะเป็นอุปัชฌาย์ คู่สวด พระอันดับ ได้เหมือนกันหมด ส่วนใหญ่จะนิยมเป็นน้ำมันก๊าดหนึ่งขวดสตางค์รูจำนวน ๓ อัน ด้ายหนึ่งขด เข็มหนึ่งอันเสียบปักไว้ที่ฝาขวดเท่านั้นเอง

สำหรับหลวงพ่อวาส ฯ เจ้าภาพใหญ่ก็คือโยมย่าของท่าน จัดเตรียมน้ำมันก๊าดถวายรูปละหนึ่งปี๊บ สมัยก่อนก็ราคาปี๊บละ ๑ บาท ถวายหมดทั้งวัด ที่นิยมถวายน้ำมันก๊าดก็เพราะว่ายุคนั้นยังไม่มีไฟฟ้า ใช้ตะเกียงน้ำมันสำหรับจุดท่องมนต์ในยามค่ำคืน ปัจจุบันตามวัดจึงนิยมจัดให้มีการหยอดเงินเติมน้ำมันตะเกียงกันอยู่ เพื่อหาเงินรายได้เข้าวัด ตอนที่หลวงพ่อวาส ฯ ท่านบวชนั้น มีพระสุเมธาจารย์ วัดปรมัยฯ เกาะเกร็ด เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อสุ่น เป็นคู่สวด หลังจากบวชเป็นองค์พระแล้ว เป็นธรรมดาจะต้องจัดเลี้ยงฉลองพระใหม่ ในงานนี้หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อสุ่นรวมทั้งพระลูกวัดก็รับนิมนต์ไปงานดังกล่าวที่บ้านหลวงพ่อวาส ฯ ด้วย คงไม่ธรรมดาแน่นอน หลวงปู่กลิ่นฯ ท่านก็ทราบว่าหลวงพ่อวาสฯ ท่านก็เลือดเนื้อเชื้อสายลำดับที่สี่ของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม มีศักดิ์เป็นเหลนทางสายคุณทวดอิ่ม ซึ่งคุณทวดอิ่มนั้นเป็นน้องสาวคนสุดท้องของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ซึ่งจะกล่าวลำดับในโอกาสต่อไป

ส่วนหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน ผู้สร้างหนุมานอันเลื่องชื่อ ท่านก็มีความเกี่ยวข้องทั้งทางโยมพ่อ และโยมแม่ของหลวงพ่อวาส ฯ มีศักดิ์เป็นหลวงน้า และหลวงอา อย่างไรเสียความเป็นญาติก็ต้องไปร่วมงานแน่นอนแต่ไปในทางสงฆ์ เมื่อนิมนต์พระเข้าที่แล้วจึงรู้ทันทีว่าหลวงพ่อสุ่นท่านอาวุโสกว่าหลวงปู่กลิ่น ฯ แน่นอน เพราะการนั่งในที่ที่จัดไว้นั้น หลวงพ่อสุ่นท่านนั่งเป็นลำดับแรก ต่อด้วยหลวงปู่กลิ่น ฯ (ทราบต่อมาในภายหลังว่าหลวงพ่อสุ่นกับหลวงปู่กลิ่นท่านสนิทสนมกันมาก ไม่ใช่แค่เป็นสหธรรมิกเท่านั้น ถึงขนาดหลวงพ่อสุ่นเคยเอยปากกับหลวงปู่กลิ่นว่า ?ท่านกลิ่นถ้าผมสิ้นบุญก่อน ท่านต้องมาเป็นแม่งานจัดงานศพให้ผมนะ? เช่นเดียวกันหลวงปู่กลิ่นก็กล่าวกับหลวงพ่อสุ่นว่า ?ท่านก็เหมือนกันถ้าผมหมดบุญ ท่านก็ต้องมาเป็นคนจัดงานศพให้ผมด้วยนะ? (ที่กล่าวมานี้เป็นคำบอกเล่าของ หลวงพ่อกุหลาบ เจ้าคณะอำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี และเจ้าอาวาสวัดใหญ่สว่างอารมณ์ ซึ่งได้เล่าให้หลวงพ่ออ่าง เจ้าอาวาสวัดใหญ่สว่างอารมณ์ รูปปัจจุบันฟัง) ในงานดังกล่าวหลวงพ่อสุ่นได้มอบหนุมานพร้อมกับผ้ายันต์ให้หลวงพ่อวาส ฯ ไว้เป็นที่ระลึกด้วย ในเรื่องผ้ายันต์นั้นเจตนาเพื่อใช้ห่อพันตัวหนุมานผูกติดไว้ที่แขน หรือผูกกับเชือกสายสร้อยคล้องคอ เพราะสมัยก่อนไม่มีช่างเลียมพระเหมือนปัจจุบัน

ในยุคที่หลวงปู่กลิ่น ฯ เป็นสมภารนั้นมีพระบวชจำพรรษามากถึง ๗๐ กว่ารูป ท่านจะบวชให้เฉพาะพระหนุ่มอยู่จำพรรษาเท่าไรก็ได้ยิ่งนานยิ่งดี ส่วนใหญ่จะบวชอยู่ถึงสามพรรษา สาเหตุเพราะพรรษาแรกอุทิศให้ปู่ย่าตายาย พรรษาที่สองบวชให้พ่อแม่ผู้มีพระคุณ พรรษาที่สามบวชให้กับตัวเองและเจ้ากรรมนายเวร ส่วนคนแก่บวชได้แต่อยู่ตามกำหนดที่บนบานกล่าวขานไว้ ถ้าจะอยู่ต่อต้องไปอยู่วัดอื่น หลวงปู่กลิ่น ฯ ถ้าดูแล้วเหมือนท่านดุ พูดน้อย พระลูกวัดยำเกรงและกลัวท่านมาก มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระลูกวัดจะตัดก้านบอนไล่แอบตีกันในยามค่ำคืนให้พระรูปอื่นตกใจกลัว คิดว่าเป็นผี เพราะวัดสะพานสูงในยุคนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อเรื่องผีนางตะเคียนยิ่งนัก หลวงปู่กลิ่น ฯ ท่านคงรำคาญหรืออย่างไรไม่ทราบ ท่านก็เดินย่องไป พระรูปที่ไล่ตีพระองค์อื่นเห็นเข้าตกใจต่างวิ่งหนีเข้ากุฏิปิดประตูเงียบ ซึ่งที่จริงหลวงปู่ ฯ ท่านกลัวว่าพระจะตกสะพานหล่นลงไปบาดเจ็บ เพราะกุฏิพระจะมีหอสวดมนต์อยู่กลางมีกุฏิเรียงรายล้อมรอบมีสะพานแล่นชานเชื่อมต่อกัน ไม้บางอันผุหักเป็นร่อง จะเป็นอันตรายแก่พระที่วิ่งไล่กันตอนกลางคืน

ในปีเดียวกันนั้น (พ.ศ.๒๔๘๐) เป็นปีที่หลวงปู่กลิ่น ฯ ท่านมีอายุครบ ๖ รอบ จึงมีดำริที่จะจัดงานทำบุญฉลองอายุ พร้อมกับจัดงานฉลองการบูรณะพระอุโบสถ์ ซึ่งได้รื้อซ่อมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๐ ในครานั้นได้มอบหมายให้อาจารย์ผัน ฯ (อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทราราม) และโยมผ่อง (ทั้งสองท่านนี้คือลูกพี่ลูกน้องของหลวงปู่วาส ฯ) พระทั้งวัดมี ๖๐ กว่ารูป แต่มีเพียงสองท่านนี้เท่านั้นที่ได้รับใช้หลวงปู่กลิ่น ฯ ในการทำพระเป็นของที่ระลึกสำหรับแจกในงาน ฯ ทั้งอาจารย์ผัน ฯ และโยมผ่อง ได้เล่าให้หลวงปู่วาส ฯ ฟังว่า

ในการทำพระนั้นหลวงปู่กลิ่น ฯ ได้มอบผงพุทธคุณของหลวงปู่เอี่ยม ฯ และผงลบของหลวงปู่กลิ่น ฯ เป็นมวลสารส่วนผสมหลักในการทำพระ โดยมีขั้นตอนในการทำเหมือนกับที่หลวงปู่วาส ฯ ทำพระปิดตานั่นเอง คือ ผสมผงกับข้าวสุก กล้วยน้ำว้า น้ำมันตั้งอิ๊ว ลงในครกแล้วตำให้เนื้อเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ตำให้ได้ที่เหมือนเนื้อแป้งปาท่องโก๋ เพราะเวลาพิมพ์จะง่าย และล่อนแกะออกง่ายไม่ติดพิมพ์ ขณะพิมพ์พระปิดตาพิมพ์ชลูดได้ซักหลักสิบองค์ หลวงปู่กลิ่นเดินลงมาเห็น (กุฏิของหลวงปู่กลิ่นติดกับกุฏิที่อาจารย์ผัน ฯ ทำพระอยู่ ซึ่งจะมีชานแล่นขวางเชื่อมต่อกัน)

หลวงปู่ ฯ ได้กล่าวว่า ?พอ ๆ ๆ ถ้าอย่างนี้ก็ไม่พอแจก องค์ใหญ่ เปลืองเนื้อ อย่างนี้ไม่เอาแล้ว ไปเอาพิมพ์ลำพูนมาทำ? เป็นอันว่าการพิมพ์พระปิดตาพิมพ์ชลูดเป็นยุติ จึงเริ่มทำพิมพ์ลำพูนต่อ ตอนที่ทำพระเริ่มเดือนสี่ แต่เดือนห้าจะถึงกำหนดงาน ดังนั้นขั้นตอนการพิมพ์จึงต้องใช้เวลาที่รวดเร็ว หยิบเนื้อพระมาคลึงที่ผ่ามือถ้าหยิบมาก้อนใหญ่พระที่พิมพ์ก็องค์ใหญ่ ถ้าหยิบเนื้อมาน้อยพระที่พิมพ์ก็ออกมาองค์เล็ก พิมพ์พระจะมีหน้าเดียวพิมพ์ง่าย ตำเนื้อได้ที่ ออกมาตากแห้งเร็ว แล้วนำมาทาสีดำ จะไม่ใช้รักทา (หลวงปู่วาส ฯ เล่าว่าหลวงปู่กลิ่น ฯ ท่านแพ้รักจึงให้ใช้สีทาแทนรัก แต่เมื่อพิจารณาแล้ว สีมีส่วนผสมของทินเนอร์มีคุณสมบัติทำให้สีแห้งเร็ว รักแห้งช้า ด้วยเวลาที่จำกัด จึงอาจเลือกใช้สีก็เป็นได้ แต่มีข้อสันนิษฐานอีกมุมหนึ่งบอกว่า หลวงปู่กลิ่น ฯ ท่านแพ้รักจึงให้ใช้สีแทน)

เมื่อทำเสร็จก็ส่งขึ้นไปถวายให้หลวงปู่กลิ่น ฯ ปลุกเสก เป็นอันเรียบร้อย พร้อมแจกเป็นของชำร่วยในงาน ในงานดังกล่าวมีหนังสือที่ระลึกพิมพ์เกี่ยวกับประวัติของวัดและประวัติหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น ลำดับการปฏิสังขรวัด รายชื่อญาติโยมที่มีส่วนร่วมในการบริจาคทรัพย์ สิ่งของบันทึกไว้อย่างละเอียดชัดเจน โดยผู้ที่พิมพ์ถวายหลวงปู่ ฯ คือ พล.ต.พระอุดมโยธายุทธ ฯ (ซึ่งจะกล่าวในโอกาสต่อไป) มีจำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม การจัดงานฉลองดังกล่าวมีมโหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน ทั้งละคร โขน หนังจอ หนังตะลุง (หนังแผ่น) หุ่นกระบอก ลิเก ลำตัด กระบี่กระบอง ตะกร้อ พลุไฟตะลัยไฟพะเนียง ฯลฯ อีกมากมายดูเป็นงานใหญ่ของวัด ทุกอย่างมีเจ้าภาพหมด

เพราะบารมีหลวงปู่เอี่ยม ฯ หลวงปู่กลิ่น ฯ ท่านแผ่กระจายไปทั่ว มีลูกศิษย์ ลูกหา ผู้ศรัทธาเลื่อมใสมากมาย ทั้งคุณพระ คุณหลวง ผู้ราก มากมี ชาวนา ชาวสวน ชาวบ้าน ร้านตลาด พ่อค้าวานิชย์ ทั้งไทย จีน มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง พร้อมเพรียง ในงานดังกล่าวไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่โปลิสมาคุมงาน ๗ วัน ๗ คืน ไม่มีเรื่องเกิดขึ้น เพราะบารมีหลวงปู่ ฯ ที่ทุกคนเกรงกลัวหนักหนา อาวุธคู่กายหลวงปู่ ฯ ไม่ใช่แค่พระธรรมคำสั่งสอนเท่านั้น หลวงปู่ ฯ ท่านมีอีด้วน (หางกระเบนปลายหางกุด) ใคร ๆ ก็กลัวนักกลัวหนา ถ้าถูกหลวงปู่ ฯ หวดเมื่อเป็นได้เรื่อง มีอันเป็นไปทุกราย ไม่ตายโหง ก็มีอันพิบัติ ถ้าสำนึกผิดก็นำดอกไม้ธูปเทียนใส่พานมาถวายแล้วให้หลวงปู่ ฯ อาบน้ำมนต์หวดซ้ำอีกหนึ่งที เป็นการแก้อาถรรพ์ให้ แต่น้อยคนนักที่จะโดนหลวงปู่ ฯ หวด เพราะไม่คิดจะทำความผิดในเขตอาวาสของหลวงปู่ ฯ

กล่าวกันว่าคนเมาเข้าวัด เป็นหายเมา คนเกเร เข้ามาวัดต้องสงบเสงี่ยม เจียมตัว ผ้าขาวม้าที่คาดพุงต้องเอาออกพาดบ่าสะพายเฉียง ทั้งเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ แก่เถ้า ผู้หญิงผู้ชายต้องมีผ้าสะพายเฉียงกันทุกคน มีเรื่องเล่ากล่าวขานกันทุกวันนี้ ว่านาย?(ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม เพราะไม่ได้ขออนุญาตลูกหลานเขาเอาชื่อมาเอ่ยอ้าง ถ้ายากทราบให้มาถามคนที่มีอายุรุ่น ๗๕ ? ๘๐ ปีขึ้นไป) เป็นคนมีฐานะร่ำรวยในพื้นที่ตระกูลหนึ่งในย่านคลองภูมิ เกเรเข้ามาขโมยของในวัดถูกจับได้นำไปผูกมัดติดไว้ที่ต้นตะเคียนหน้าวัด เมื่อหลวงปู่ ฯ สอบสวนไล่เรียงได้ความว่าเข้ามาขโมยหลายครั้งแล้ว จึงได้ลงโทษด้วยการใช้อีด้วนหวดไปที่กลางหลังหนึ่งที แล้วไล่ให้กลับบ้านออกไปทางวัดโปรดเกษ ฯ ซึ่งอยู่ติดกับวัดสะพานสูง เพราะหลวงปู่ ฯ ท่านรู้ว่ามีชาวบ้านรอจะทำร้ายอยู่ข้างวัดอีกด้านหนึ่ง ซึ่งด้วยความกลัวชาวบ้านจะดักทำร้าย

นาย?จึงไม่มีโอกาสมาให้หลวงปู่ ฯ ตีแก้อาถรรพ์ให้ จนตาย ผลปรากฏว่าจากฐานะร่ำรวย ก็สิ้นเนื้อประดาตัว คนในครอบครัวต้องภัยตายโหงกันจนทุกวันนี้ ครอบครัวนี้ก็จะตายโหงกันเสียส่วนใหญ่ เพราะคำสาบแฉ่งของหลวงปู่ ฯ ที่ว่า ?มีลูกก็เสียปาน มีหลานก็ให้เสียโคตร? เมื่อถึงกำหนดพิธีการเรียบร้อยหลวงปู่ ฯ จะแจกหนังสือหนึ่งเล่ม พระลำพูนคนละหนึ่งองค์ให้เฉพาะผู้มาช่วยงานด้วยทรัพย์ สิ่งของ สำหรับพระ เณรหลวงปู่ ฯ จะเรียกมารับแจกทุกองค์ ส่วนชาวบ้านนั้น หลวงปู่ ฯ ได้มอบหมายให้ทายกสายเป็นผู้มอบให้แทน โดยแจกทุกคนไม่เลือกหน้า ฐานะ แต่ห้ามขอไปฝากคนอื่น แต่ก็เป็นธรรมดา ทุกยุค ทุกสมัย ทุกคนมาก็จะต้องการได้เพิ่ม เพื่อเอาไปฝากคนที่บ้าน เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งหลวงปู่ ฯ ก็ถูกมองในแง่ไม่ดี ดังนั้นตาสาย ฯ จึงได้นำความไปปรึกษาหลวงปู่ ฯ ว่าถ้าเป็นเช่นนี้ก็แจกหนึ่งองค์ ถ้าขอเพิ่มก็ให้จำหน่าย เสียเงินกันเสียบ้าง ไม่งั้นมีเท่าไรก็ไม่พอ เป็นแน่แท้ ด้วยเหตุด้วยผล หลวงปู่ ฯ จึงยอมให้มีการจำหน่ายเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่าถ้าต้องการองค์ใหญ่ก็เสียเงินสิบสตางค์ องค์เล็กราคาห้าสตางค์ จึงเป็นที่มาของชื่อพระ พิมพ์ห้าตังค์ กับพิมพ์สิบตังค์

หลวงปู่วาส สีลเตโช พระเกจิชื่อดังแห่งวัดสะพานสูง ซึ่งละสังขารสิริรวมอายุ 101 ปี ที่ รพ.กรุงไทย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ
 
 

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

200 บาท


ชุดน้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

150 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด