ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (1999) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 83 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6896 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 107 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
 
หลวงปู่ชู วัดนาคปรก / ผู้เข้าชม : 14438 คน

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่ชู วัดนาคปรก กรุงทพฯ 

          สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดนาคปรกนั้น เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ณ ถนนเทอดไทย ตำบลปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นในช่วงรัตนกสินทร์ตอนต้น ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีเนื้อที่วัดประมาณ 12 ไร่เศษ ผู้สร้างคือ เจ้าสัวพุก ชาวจีนพ่อค้าสำเภา ซึ่งตามพระยาโชฎึกราชเศษฐี เข้ามาทำมาค้าขายโดยจอดท่าเรือสำเภาไว้ที่คลองสานใกล้ๆ สุเหร่าแขก และต่อมาได้ภรรยาเป็นคนไทยเจ้าสัวพุกเป็นผู้มีความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา มีศรัทธาแรงกล้าในการจะสร้างวัดขึ้น ณ ที่ใกล้วัดนางชีอันเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นผู้ถวายการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1สำหรับนามของวัดนี้ มาจากพระนามของพระพุทธรูปหนึ่งในจำนวน 2 องค์ ซึ่งเป็นพระประธานประจำพระวิหาร พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก อันปรากฏในพระพุทธประวัติว่า

เมื่อครั้งเสด็จนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิก ได้บังเกิดฝนตกพรำอยู่ตลอด 7 วันในครั้งนั้นพญามุจลินท์นาคราชออกจากนาคภพมาทำขนดล้อมพระวรกาย 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนเพื่อป้องกันลมและพายุฝนไม่ให้ซัดสาดมาต้องพระวรกายพระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระประจำวันของผู้ที่เกิดวันเสาร์ เข้าใจว่าภรรยา ของเจ้าสัวพุกคงจะเกิดในวันนี้ นอกจากนั้นภาพจิตรกรรมภายในวิหารยังเป็นลายไทย ส่วนภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนสีเป็นลายจีน และท่านผู้สร้างก็เป็นผู้ที่มีปฏิสัมภิทาและบุคลาธิษฐาน ซึ่งหยิบยกสิ่งที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบายสังเกตได้จากการที่สร้างพระวิหารไว้ทางทิศเหนือ และพระอุโบสถไว้ทางทิศใต้ องค์พระหันไปทางทิศตะวันออก เปรียบเสมือนผู้หญิงอยู่ทางซ้าย ผู้ชายอยู่ทางขวาวัดนาคปรก

มีเจ้าอาวาสครองวัดมาแล้วหลายรูป แต่ไม่มีการจดบันทึกไว้ เริ่มมาบันทึกเป็นทางการถึงปัจจุบัน รวม 4 รูปคือ
1.    พระอธิการ คงชูนาม
2.    พระอธิการเลี่ยม นนฺทิโย
3.    พระอาจารย์อำนาจ นราสโภ
4.    พระครูศรีพัฒนคุณ (พิศิษฐ สิมมามี)

สำหรับหลวงปู่ชู อดีตเจ้าอาวาส ที่เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่เลื่องลือเมื่อประมาณ 80 กว่าปีก่อน ชาวบ้านในละแวกวัดรวมไปถึงจังหวัดใกล้เคียงต่างพากันกล่าวถึงเกียรติคุณของท่านมาจนกระทั่งทุกวันนี้ สิ่งที่ยังคงเหลือเป็นที่รู้จักกันอย่างดีคือ วัตถุมงคลต่างๆ ที่ท่านได้สร้างไว้ อาทิ เหรียญรูปเหมือนและเหรียญหล่อเนื้อสำริดชาติภูมิของหลวงปู่ชูนั้น ตามประวัติบันทึกว่า บ้านเดิมท่านเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเมื่อปี พ.ศ.2401 โยมบิดาชื่อ คง โยมมารดาไม่ทราบนาม โยมบิดามีอาชีพค้าขาย มีเรือโกลนล่องมาจากนครศรีธรรมราชมาค้าขายที่กรุงเทพฯ

ต่อมาได้โยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่จังหวัดธนบุรีในปี พ.ศ. 2412 ได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ อันเป็นสำนักสอนกัมมัฏฐานที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น หลวงปู่ชูท่านได้ศึกษาทางด้านนี้ รวมทั้งจิตใจฝักใฝ่ในด้านพุทธาคมและไสยเวทมาตั้งแต่รุ่นหนุ่ม จึงมุ่งมั่นศึกษาวิชาต่างๆ แต่ละแขนงจนกระทั่งเชี่ยวชาญ ว่ากันว่า ท่านยังเป็นศิษย์เรียนวิชาจากสำนักวัดระฆังโฆสิตารามอีกด้วยต่อมาท่านได้ลาสิกขาเพื่อสะดวกแก่การเดินทางไปศึกษาวิชาต่างๆ ท่านได้ไปขอศึกษาวิชากับ ท่านอาจารย์พลับ วัดชีตาเห็น (วัดชีโพ้นในปัจจุบัน) จ.อยุธยา ซึ่งมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ได้ปรนนิบัติ และศึกษาวิชากับพระอาจารย์พลับจนหมดสิ้น จึงลาพระอาจารย์เดินทางขึ้นเหนือไปยังจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าท่านได้ไปศึกษาวิชากับพระอาจารย์รูปใด อีกทั้งการเดินทางไปของท่าน เป็นระยะเวลานานมากและยังขาดการติดต่อกับทางบ้าน บรรดาญาติพี่น้องพากันเข้าใจว่าท่านเสียชีวิตไปแล้ว

พอท่านกลับมาเยี่ยมบ้าน ยังความปิติยินดีแก่ญาติพี่น้องเป็นอย่างยิ่ง โยมบิดามารดาจึงจัดหาตบแต่งภรรยาให้ท่าน อยู่กินกันจนมีบุตรธิดา รวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1หลังจากท่านแต่งงานมีครอบครัวท่านก็ได้ใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพรใบยาและเวทย์มนต์คาถาที่ได้ร่ำเรียนมา ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน พากันเรียกท่านว่า พ่อหมอชูภายหลังท่านเกิดเบื่อหน่ายในโลกีย์วิสัย มองเห็นความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร จึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดนางชี เขตภาษีเจริญ ต่อมาได้ย้ายมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาคปรก จวบจนกระทั่งมรณภาพ เมื่อวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พ.ศ.2477 รวมสิริอายุได้ 76 ปีเท่าที่มีการบันทึกเรื่องราว และคำเล่าขานของชาวบ้านแถบวัดนาคปรกที่เล่ากันต่อๆ มา ถึงวัตรปฏิบัติปฏิปทาของหลวงปู่ชู ว่ากันว่า ท่านเป็นพระที่เรียบง่าย ไม่โอ้อวดตนว่าเป็นผู้วิเศษ มีความรู้ความสามารถเหนือผู้อื่น แต่กลับมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีคุณธรรมสูง เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่รักเคารพของบรรดาศิษย์ มีเรื่องเล่ากันว่า หลวงปู่ชู เป็นพระอาจารย์รูปเดียวที่ พระภาวนาโกศลเถระ หรือหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง กล่าวยกย่องว่า เก่งทางไสยศาสตร์และวิชาแพทย์แผนโบราณ ว่ากันว่า ถ้ามีคนตลาดพลูไปขอของดีจากหลวงปู่เอี่ยมท่านจะบอกให้มาเอาจากหลวงปู่ชู ในทางกลับกัน ถ้ามีคนบางขุนเทียนมาขอของดีจากหลวงปู่ชู ท่านจะแนะนำให้ไปขอจากหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ทั้งสองนี้ต่างก็ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ต่างก็รู้วาระจิตกันดี และมักจะไปมาหาสู่กันเสมอหลวงปู่ชูท่านจะให้การอบรมพระภิกษุสามเณรในวัดเป็นอย่างดี ท่านจะมักเทศนาให้ชาวบ้านฟังเสมอๆ ว่าให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ประกอบอาชีพทำมาหากินสุจริต สมัยก่อนวัดนาคปรกและบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยป่าครึ้ม ชาวบ้านประกอบอาชีพกสิกรรม ทำสวนผลไม้และปลูกหมากพลู มีมากจนคนขนานนามว่า ตลาดพลู การคมนาคมในสมัยก่อนยังใช้เรือเป็นพาหนะ ไฟฟ้า ประปายังไม่มี ตกค่ำก็พากันจุดไต้และตะเกียงเพื่ออ่านคัมภีร์และหนังสือธรรมะ เป็นกิจวัตรประจำวันมีเรื่องเล่ากันว่า วันหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังดูหนังสือทบทวนปาฏิโมกข์โดยจุดตะเกียงวางไว้บนโต๊ะใกล้หน้าต่าง มีชาวบ้านที่เดินมาด้วยกันบอกเพื่อนที่มาด้วยกันว่า เอาตะเกียงพระส่องทางดีกว่า มืดจะตาย อีกคนก็เห็นพ้องด้วยก็พากันมาตรงหน้าต่างกุฏิหลวงปู่ คนหนึ่งเอื้อมมือไปหยิบตะเกียงแต่หยิบไม่ถึง ก็บอกเพื่อนให้หาไม้มาเขี่ย ทำให้ลวงปู่รู้ว่า มีคนจะมาเอาตะเกียงด้วยความเมตตาของท่าน แทนที่จะร้องทักขึ้นกลับนั่งเงียบเสีย แล้วใช้เท้าดันตะเกียงไปชิดริมหน้าต่างเพื่อจะได้หยิบสะดวก ทั้งสองคนจึงขโมยตะเกียงของท่านไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อไม่มีตะเกียงก็ไม่สามารถอ่านหนังสือได้จึงจำวัดพักผ่อนจวบจนรุ่งสาง เสียงไก่ขัน ได้เวลาที่ท่านจะต้องตื่นขึ้นมาทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน ขณะที่กำลังถือกระบวยจะตักน้ำล้างหน้า ก็มองเห็นแสงไฟริบหรี่วนไปวนมาอยู่ในสวน ซึ่งท่านก็ไม่ได้สนใจว่า ชาวบ้านกำลังทำอะไร เข้าห้องครองจีวรและสังฆาฏิเตรียมสวดมนต์ ก็ได้ยินเสียงคนมาร้องเรียกอยู่หน้ากุฏิ ท่านจึงได้เปิดประตูออกดู เห็นชายสองคนถือตะเกียงของท่าน กำลังนั่งคุกเข่าปะนมมืออยู่ พอเห็นท่านก็ก้มลงกราบด้วยความเคารพ พร้อมกับพูดขึ้นว่า"หลวงปู่ครับ ลูกขอขมาลาโทษ ลูกทำผิดอย่างใหญ่หลวง ที่ขโมยตะเกียงของหลวงปู่ไป ลูกเดินวนเวียนอยู่ในบริเวณวัดทั้งคืนหาทางกลับบ้านไม่ถูกเลย ขอหลวงปู่จงยกโมษให้ลูกด้วยเถิดครับ"หลวงปู่ได้ฟังจบ ก็ยิ้มอย่างมีเมตตาและกล่าวขึ้นว่า"หลวงปู่ให้อภัยถ้าเธอมีโทษเพราะเรื่องนี้ ความมืดภายนอกจากการสิ้นแสงอาทิตย์และเดือนดาว ยังจิตใจของคนเราให้มืดบอดไปด้วย เขาเรียกว่ามืดทั้งภายใน แต่ถ้าผู้ใดสามารถกำจัดอวิชชาตัวที่ทำให้ไม่รู้หมดสิ้นไป ผู้นั้นก็จะสว่างทั้งภายนอกและภายใน หลับอยู่ก็รู้ นอนยู่ก็เห็น ไม่จำเป็นต้องมีตะเกียงนำทาง ขอให้เธอทั้งสองจงสว่าง เห็นทางกลับบ้านอยู่กับครอบครัวอย่างเป็นสุขเถิด"ข้อความที่หลวงปู่กล่าวกินใจของคนทั้งคู่ ต่างพานก้มลงกราบด้วยความเคารพศรัทธาพร้อมกับเอ่ยปากขอฝากตัวเป็นศิษย์แล้วลากลับบ้านอีกเรื่องหนึ่งที่กลายเป็นเรื่องเล่าขานกันต่อมาคือ เรื่องที่หลวงปู่ชูให้หวยแม่น ในสมัยนั้น ชาวบ้านย่านตลาดพลู ใครมีเรื่องทุกข์ร้อน มักจะมาหาท่านให้ท่านช่วยเหลือ บางคนที่ไม่มีอะไรจะกิน หลวงปู่ท่านจะสงเคราะห์ให้ตามสมควร จนกระทั่งมีข่าวเล่าลือว่า หลวงปู่ให้หวย อันเป็นการผิดกฎของคณะสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงทราบเรื่องจึงทรงสอบสวนวินัย โดยมอบให้ท่านเจ้าคุณวัดอนงค์คาราม เป็นผู้สอบสวน ท่านเจ้าคุณวัดอนงค์จึงเรียกให้หลวงปู่ชูมาพบที่วัด หลวงปู่ก็ไปพบแต่โดยดี ไปถึงก็กราบท่านเจ้าคุณพร้อมกับนั่งประนมมือฟังคำบัญชาด้วยใจเด็ดเดี่ยวและมั่นคงท่านเจ้าคุณวัดอนงค์จึงถามขึ้นว่า "ให้หวยเก่งนักหรือ"
หลวงปู่ชูได้ตอบไปว่า "ขอก็ให้ ไม่ขอก็ไม่ให้"ท่านเจ้าคุณวัดอนงค์ได้ฟังดังนั้นจึงสรุปว่าหลวงปู่ให้หวยผิดวินัย โกหกหลอกลวงชาวบ้าน แต่ถ้าสามารถตอบอะไรท่านได้ จะไม่ถือเอาโทษ หากตอบไม่ได้จะปรับโทษทางวินัย แล้วท่านเจ้าคุณก็เขียนหนังสือใส่ซองจดหมายอย่างหนาแล้วนำเอามาวางไว้ตรงหน้าหลวงปู่ โดยมีพระเถระเป็นสักขีพยานหลายรูป รวมทั้งมัคนายกอีกทั้งสองนายซึ่งนั่งดูการพิจารณาพิพากษาในที่นั้นอยู่ด้วย เมื่อวางซองจดหมายแล้ว เขียนว่าอย่างไรบ้าง หลวงปู่ชูจึงนั่งหลับตาอยู่ราวอึดใจหนึ่งจึงกราบเรียนท่านเจ้าคุณรวมทั้งสักขีพยานว่า "ในซองนั้นเขียนคำว่า สมภารชูให้หวย" พอฉีกซองออกมาดู ทั้งข้อความที่ปรากฏอยู่ เป็นไปดังที่หลวงปู่กล่าวทุกประการ หลังจากนั้นได้นิมนต์ให้กลับวัดหมดโทษหมดมลทินใดๆ เพราะท่านไม่ได้หลอกลวงใครดังกล่าวหา และต่อมาภายหลังท่านเจ้าคุณวัดอนงค์ได้มาเยี่ยมเยียนหลวงปู่ชูที่วัดเสมอ จนถูกอัธยาศัยไมตรีกันตราบจนสิ้นชีวิตเรื่องหลวงปู่ชูให้หวยแม่นและเรื่องที่ท่านโดนท่านเจ้าคุณอนงค์เรียกไปสอบกลายเป็นข่าวเลื่องลือไปทั่ว วันหนึ่ง นักเลงจับยี่กีเดินโพยหวยชื่อ ตาแหวง บ้านอยู่หลังวัดปรก คิดจะทดลองความแม่นยำในการใบ้หวยของหลวงปู่ เพราะตนเพียงได้ยินเสียงเล่าลือจึงยังไม่เชื่อถือ ตาแหวงจึงขึ้นไปกราบหลวงปู่ที่กุฏิแล้วแจ้งความประสงค์แบบซื่อๆ ด้วยใจนักเลงว่า "หลวงปู่ครับ เขาลือกันว่าหลวงปู่ให้หวยแม่น ถ้าเป็นจริงดังคำเล่าลือ ขอได้โปรดเมตตาสงเคราะห์กระผมบ้าง กระผมอยากได้เลขจากหลวงปู่ เพียงตัวเดียวเท่านั้นแหละครับ"หลวงปู่ได้ฟังแล้วก็ยิ้มอย่างมีเมตตา นิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่งจึงตอบไปว่า "แหวงเอ๊ย . . แกเป็นคนไม่มีโชคด้านนี้ ข้าให้ไปแกก็เอาไม่ได้ อย่าเล่นเลยดีกว่าเชื่อข้าเถอะ" ตาแหวงได้ยินก็สงสัยเพราะเท่าที่รู้มาใครขอท่านมักจะไม่ขัด จึงอ้อนวอนขอท่านอีกครั้งว่า "หลวงปู่ให้มาเถิดครับ ถึงรู้ว่าผมไม่มีโชค ถ้าให้แล้วไม่มีโชคจริงละก็ จะเลิกการพนันตลอดชีวิตเลยครับ"หลวงปู่ท่านจึงถามย้ำอีกครั้งว่า จะเลิกเล่นตลอดชีวิตจริงอย่างที่ว่าหรือไม่ ตาแหวงก็ยืนยันแข็งแรง หลวงปู่ถึงถามว่า เลขตัวเดียวได้กี่บาท ตาแหวงก็แจกแจงบอกกติกาการเล่นให้ท่านทราบโดยละเอียด ท่านจึงบอกว่า "เลขตัวเดียวรวยช้า เอาไป 3 ตัวตรงๆ ไม่มีการสลับตำแหน่ง เงินมีเท่าไหร่ซื้อให้หมด" พูดจบท่านก็เขียนตัวเลข 3 ตัวใส่ระดาษส่งให้ตาแหวงไปตาแหวงเอง เมื่อได้เลขจากหลวงปู่แล้วก็นั่งฝันความเป็นเศรษฐีของตนในวันพรุ่งนี้ พอถึงวันหวยออก ก็เดินหาซื้อเลขดังกล่าว แต่วันนั้นเกิดเต็มไม่สามารถซื้อได้ทั้งที่ตนเป็นเจ้ามือวิ่งโพยเอง จึงรีบไปซื้อที่อื่นเขาก็ว่าตำรวจกวนวันนี้งดขาย ตามอยู่หลายเจ้าก็ไม่มาสารถซื้อเลขที่หลวงปู่ให้มาได้เลย จนกระทั่งถึงเวลาหวยออกตาแหวงก็ยังคงวิ่งหาซื้อเลขนี้อยู่ ถึงตอนประกาศรางวัลที่ 1 เลข 3 ตัวท้ายออกมาตรงกับที่หลวงปู่ให้ไม่ผิดเพี้ยนตาแหวงถึงกับเข่าอ่อนทรุดลงไปนั่งกองกับท้องร่องสวนหมากหลังวัด นึกถึงคำพูดของหลวงปู่ขึ้นมาได้ ก็วิ่งแจ้นไปยังกุฏิหลวงปู่ บอกท่านว่า "หลวงปู่ครับ ผมไม่มีโชคเหมือนที่หลวงปู่ว่า ต่อไปนี้ผมเลิกเล่นการพนันทุกชนิด หากผิดสัจจะก็ขอให้พบกับความวิบัติ และฝากตัวรับใช้หลวงปู่ตลอดไป"หลวงปู่ได้พูดปลอบใจตาแหวงว่า "วาสนาของเรามันเป็นอย่างนั้น อย่าเสียใจไปเลย เราไม่ได้สร้างกุศลเรื่องทางนี้มา จะเปรียบกับคนอื่นเขาไม่ได้ดอก พอใจในสิ่งที่ตนมี ยินดีในสิ่งที่ตนเป็น ก็มีความสุขแล้วมิใช่หรือตาแหวง" จากนั้นมา ตาแหวงก็เป็นโยมรับใช้หลวงปู่จนชั่วชีวิตตามที่ได้ให้สัจจะไว้ทุกประการ
  

** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ
 
 

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

ชุดน้ำยาทำผิวรุ้ง ผิวสวย พระเครื่องเนื้อทองแดง 

500 บาท


ชุดน้ำยารมดำและน้ำตาล ทองเหลือง ทองแดง 

450 บาท


น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

250 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด