ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (1999) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 83 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6896 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 107 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
 
หลวงปู่แผ้ว วัดรางหมัน / ผู้เข้าชม : 10041 คน

หลวงพ่อแผ้ว วัดรางหมัน จ.นครปฐม

ประวัติหลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) พระเกจิชื่อดัง เทพเจ้าแห่งเมือง กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัตถุมงคลของท่านประสบการณ์ดีเยี่ยม และท่านยังเคร่งครัดในพระธรรมวินัย

ชาติภูมิของ หลวงปู่แผ้ว ปวโร อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ท่านมีชื่อว่า แผ้ว บุญวัตร ซึ่งเป็นชื่อและสกุลเดิมของ หลวงปู่แผ้ว ปวโร อายุ 85 ปี พรรษา 65 ท่านชื่อเล่น แกละ เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2466 ตรงกับวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ณ หมู่บ้านหลักเมตร ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม บิดาชื่อพาน มารดาชื่อ จุ้ย จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดหนองม่วง ต.เตาอิฐ อ.บางแพ จ.ราชบุรี

และเมื่อท่านอายุได้ 2 ขวบ ทางครอบครัวก็ได้ย้ายไปอยู่ ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก พ่อแม่ถือเป็นคนใจบุญ สนทนาธรรมะกับพระมิได้ขาด กระทั่งปี 2475 โยมพ่อได้ฝากไปเป็นศิษย์วัดหนองม่วง ต.เตาอิฐ เพื่อให้ได้เรียนหนังสือกับพระสงฆ์ โรงเรียนสมัยนั้นจะอยู่ในวัดและพระเป็นครูสอน เด็กชายแกละจึงอยู่ในความดูแลจากหลวงพ่อหงส์ เจ้าอาวาสวัดหนองม่วง แต่ก็ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะต้องออกมาช่วยงานทางบ้าน

อายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2486 ณ วัดหนองปลาไหล อ.กำแพงแสน โดยมี พระครูสุกิจธรรมสร(พระอธิการหว่าง ธมมสโร) วัดกำแพงแสน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปาน อารกฺโฆ วัดหนองปลาไหล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสนั่น วัดหนองปลาไหล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ต่อมาในปี 2497 จำพรรษาอยู่ที่วัดสว่างชาติประชาบำรุง ต.กำแพงแสน มีอาจารย์สุนทร ชิตะมาโร เป็นเจ้าอาวาส

หลวงปู่แผ้ว ได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างมุ่งมั่น จนสอบได้ถึงนักธรรมเอก หน้าที่รับผิดชอบยังคงเป็นครูสอนพระนักธรรมแก่พระภิกษุและสามเณร ต่อมาเจ้าอาวาสวัดได้ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง 1-2 ปี ชาวบ้านรวมทั้งพระภิกษุและสามเณรต้องการให้ หลวงปู่แผ้ว ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส แม้หลวงปู่จะไม่ยินดีเท่าใดนัก

หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดกำแพงแสน ซึ่งหลวงปู่แผ้วได้จำพรรษาที่วัดกำแพงแสน มาตั้งแต่ปี 2502 จนถึงปี 2551 

ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม 2551หลวงปู่แผ้วได้ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) ตำบลรางพิกุล อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม จนถึงปัจจุบัน

"หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดกำแพงแสน" กับ...คาถาเสกวัตถุมงคลให้เข้มขลัง ในช่วงกระแสจตุคามรามเทพครองเมือง พื้นที่ริมสองข้างถนนเต็มไปด้วยป้ายโฆษณาจัดสร้างของวัดและสำนักต่างๆ และภาพของพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งมักปรากฏอยู่ในป้ายโฆณาวัตถุมงคล โดยเฉพาะป้ายโฆษณาใน จ.นครปฐม และจังหวัดใกล้เคียง คือ หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม จนมีคำกล่าวว่า "วัตถุมงคลรุ่นใด หรือวัดใดสร้างแล้วไม่นิมนต์ หลวงปู่แผ้ว ไปนั่งปรกแล้วจะได้รับความนิยมน้อยกว่ารุ่นที่ หลวงปู่แผ้ว ไปนั่งปรก"

หลวงปู่แผ้ว ด้วยวัยที่ล่วงเลยถึง ๘๕ ปี และบวชมานานถึง ๖๕ พรรษา ประกอบกับสุขภาพที่ทรุดโทรมตามกาลเวลา แต่หลวงปู่ยังรับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่ จากเดิมที่เคยนั่งปรกเป็นชั่วโมงๆ ปัจจุบันนี้หลวงปู่จะนั่งปรกได้อย่างเก่งไม่เกินครึ่งชั่วโมง จึงมีคำถามคาใจผู้เช่าวัตถุมงคลไม่น้อยว่า "นั่งปรกไม่กี่นาทีหรือจะเข้มขลังเท่ากับนั่งปรกเป็นชั่วโมง"

ทั้งนี้ หลวงปู่แผ้ว ได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า "เหตุที่เขานิมนต์ไปนั่งปรกเพราะคนเชื่อว่าเราไปนั่งปรกแล้ววัตถุมงคลจะเข้มขลัง ปีหน้าจะรับกิจนิมนต์ใกล้ๆ วัดเท่านั้นเพราะสุขภาพไม่ดี ความขลังของพระเครื่อง วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังไม่ได้อยู่ที่นั่งปรกนานหรือไม่นานหากอยู่ที่จิตของ พระรูปนั้นๆ ว่ามีจิตนิ่งเป็นสมาธิมากน้อยเพียงใด บางรูปนั่งเป็นชั่วโมงแต่จิตไม่นิ่งวัตถุมงคลก็ไม่เข้มขลัง"

เมื่อถามถึงคาถาที่ใช้บริกรรมระหว่างนั่งปรกปลุกเสก วัตถุมงคล หลวงปู่แผว บอกว่า เป็นคาถาของหลวงพ่อหว่าง อดีตเจ้าอาวาสซึ่งได้รับการถ่ายทอดจาก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกอีกทอด ในช่วงที่หลวงปู่หว่างเป็นเจ้าอาวาสนั้นท่านเก่งเรื่องหมอยา วัตถุมงคลของท่านก็เข้มขลังเป็นที่นิยม ทั้งนี้ได้ศึกษาอยู่กับท่านจนกระทั่งมรณภาพ เมื่อได้รับกิจนิมนต์นั่งปรกจึงนำวิชาของหลวงพ่อหว่างใช้รวมกับวิชาวิปัสนา กรรมฐานที่ได้เรียนวัดมหาธาตุฯ สนามหลวง

ส่วนคาถาบริกรรมเพื่อให้เกิดความเข้มขลังนั้น หลวงปู่แผ้ว บอกว่า มีบทเดียวแต่สร้อยของพระคาถาต่างๆมีหลายแบบ เช่น อาจจะบริกรรมว่า "พุทธังหลีก ธัมมังหลีก สังฆังหลีก" บ้างก็บริกรรมว่า "พุทธังแหวก ธัมมังแหวก สังฆังแหวก" หรืออาจจะบริกรรมว่า "พุทธังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด" คาถาเหล่านี้พระรุ่นใหม่ๆ ที่มานั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลมักจะมาสอบถามเป็นประจำโดยได้บอกไปทุกครั้ง และก็พระบางรูปมีการไปแปลงเป็น "พุทธังลอด ธัมมังลอด สังฆังลอด" หรือ "พุทธังปลอดภัย ธัมมังปลอดภัย สังฆังปลอดภัย" ซึ่งสรุปแล้วคาถาเหล่านี้ คือ คุณพระรัตนไตรนั่นเอง

สำหรับทั้งพระและฆารวาสที่สนใจศึกษาเรื่องคาถานั้น หลวงปู่แผ้ว แนะนำว่า "ตำราคาถาของวัดและสำนักต่างๆ ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เป็นของเดิมที่สืบทอดจากครูบาอาจารย์ในอดีต หลายคนท่องคาถาถูกต้องตามอักขระชัดเจน แต่เหนือสิ่งอื่นใดจิตต้องนิ่งเป็นสมาธิคาถาจึงมีความเข้มขลัง ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆารวาสถ้าจิตนิ่งเป็นสมาธิบริกรรมคาถาบทใดก็เข้มขลัง ที่ขาดไม่ได้คือต้องตั่งอยู่ในศีลมั่นอยู่ในธรรม "

หลวงปู่แผ้ว ปวโร ได้จำพรรษาที่วัดกำแพงแสน มาตั้งแต่ปี ๒๕๐๒ จนถึงปัจจุบัน โดยเบื้องต้นมีความสนใจในพระกรรมฐานของวัดมหาธาตุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่มาเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจังที่วัดกำแพงแสน เมื่อปี ๒๕๒๔ หลวงปู่ดุลย์ อตุโร จ.สุรินทร์ มาพัก ณ วัดกำแพงแสน และสนทนาธรรมเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติพระกรรมฐานจนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตามวันพุธ ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ ขอเชิญร่วมถวายมุทิตาสักการะใน งานฉลองอายุ ๘๕ ปี แด่หลวงปู่แผ้ว ณ วัดกำแพงแสน เวลา ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์สมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถาเวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ๘๕๐ รูป เวลา ๑๒.๐๐ น. แสดงมุทิตาสักการะ ผู้ที่ไปร่วมงานจะได้รับมอบพระผงและตะกรุดหลวงปู่แผ้วฟรี สอบถามเส้นทางไปวัดกำแพงแสนได้ที่ โทร.๐๘๗-๑๕๙-๓๐๒๕ และ ๐๘๔-๓๖๔-๓๐๒๕ 

"เหนือสิ่งอื่นใดจิตต้องนิ่งเป็นสมาธิคาถาจึงมีความเข้มขลัง ที่ขาดไม่ได้คือต้องตั่งอยู่ในศีลมั่นอยู่ในธรรม" ประวัติหลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน)


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ
 
 

พระเครื่องอื่น ๆ
หลวงพ่อแผ้ว วัดรางหมัน (No.252)
หลวงพ่อแผ้ว
วัดรางหมัน (No.252)

฿ พระโชว์ เช่าพระเครื่อง รายละเอียด

 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

ชุดน้ำยาทำผิวรุ้ง ผิวสวย พระเครื่องเนื้อทองแดง 

500 บาท


ชุดน้ำยารมดำและน้ำตาล ทองเหลือง ทองแดง 

450 บาท


น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

250 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด