ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (1999) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7290 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 83 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6896 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 107 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
 
หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก / ผู้เข้าชม : 6166 คน

ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อ ยิด จนฺทสุวณโณ วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์

เกิด                         วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2467 ณ.วัดบ้านดอนกรวด อ.เมือง จ.เพชรบุรี  ชื่อเดิม  ยิด สี่ดอกบวบ

บรรพชา                เป็นสามเณร เมื่ออายุ 14 ปี ที่วัดนาพรหม มี ล.พ.หวล วัดนาพรหม เป็น พระอุปัชฌาย์               

อุปสมบท               ครั้งแรก อายุ 20 ปี ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระเทพวงศาจารย์(อินทร์) เจ้าอาวาสวัดยาง และเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์  จำพรรษา อยู่ที่วัดประดิษฐาราม นาน 7 พรรษา

                           ครั้งที่ สอง อายุ 50 ปี วันที่20 มีนาคม พ.ศ. 2517 ณ.พัทธสีมา วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพ               วันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2538

รวมศิริอายุ             71 ปี

          หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน หรือ พระครูนิยุตธรรมสุนทร แห่งวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นอีกหนึ่ง ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมอภิญญาอาคมขลัง ท่านถวายตัวเป็นถตาคตสืบทอดและเผยแพร่พุทธศาสนาตามแนวทางของพระศาสดาอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างวัดหนองจอกด้วยมือของท่านเอง จากที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าไผ่และดงหนาม จนสำเร็จเป็นวัดที่เจริญและงดงามในปัจจุบัน

          ย้อนกลับไปประมาณซัก 10 ปี ผู้ที่นิยมพระเครื่องน้อยคนที่ไม่รู้จักชื่อ หลวงพ่อยิดแห่งวัดหนองจอก ด้วยที่ว่างานสรงน้ำปีละครั้งเดียว (หมายถึงว่า ใน 1 ปีหลวงพ่อยิดท่านอาบน้ำเพียง 1 ครั้งคือในงานสรงน้ำนั่นเอง) และจะอนุญาติให้ลูกศิษย์ที่มาสรงน้ำท่านใช้แปรงทองเหลือง (ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำความสะอาดพื้นปูนซีเมนต์) ขัดทำความสะอาดตัวท่าน โดยที่แปรงทองเหลืองที่แสนคมหาได้ระคายผิวหนังของหลวงพ่อยิดแม้ซักนิด เป็นข่าวขจรขจายไปทั่วในเวลานั้น ส่วนวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก ที่สร้างปาฏิหารย์บินได้ เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ ทหารและตำรวจ เพราะเชื่อกันว่าใครมีปลัดขิกของหลวงพ่อยิดติดตัวแล้วจะดีเด่นในด้าน เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงอีกทั้งมีผู้ประสบ เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งแคล้วคลาดและโชคลาภจากการบูชาวัตถุมงคลจากหลวงพ่อยิดติดตัว ชื่อเสียงของหลวงพ่อยิดจึงโด่งดังมากในยุคนั้น ปัจจุบันแม้หลวงพ่อยิดท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ดีเด่นในด้านเมตตาแคล้วคลาด เล่นหาบูชากันในวงกว้าง

ชาติภูมิ

หลวงพ่อยิดท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด มีนามเดิมว่ายิด ศรีดอกบวบ บิดาชื่อ แก้ว มารดาชื่อพร้อย มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4

อุปสมบท

          เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรม (ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด) และเห็นว่าเป็นเด็กที่ชอบอยู่วัด และจะเดินตามหลวงน้าไปวัดทุก ๆ วัน ในตอนเช้าหลังจากใส่บาตรแล้ว ครั้นอายุได้ 9 ขวบได้บวชเป็นสามเณร ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระอธิการหวล (หลวงน้า) เป็นอุปฌาย์ ได้ศึกษาอักขระเลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับพระอธิการหวล และครูหลี แม้นเมฆ มีความสนใจในด้านวิชาอาคม สักยันต์และร่ำเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ควบคู่กันไป และได้ขออนุญาติออกธุดงค์วัตรกับพระอุปฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร โดยออกธุดงค์เป็นเวลา 4ปี และได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาตอนอายุ 14 ปี และในช่วงนี้นี่เองที่หลวงพ่อยิด เริ่มมีชื่อเสียงจากการ สักยันต์ เนื่องจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้หลวงพ่อยิด สักยันต์ ให้แล้วเกิดมีประสบการณ์ จึงเล่ากันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น (ขณะนั้นอายุประมาณ 17-19 เท่านั้น)

          เมื่ออายุได้ 20 ปีก็ได้อุปสมบทตามประเพณี โดยมีหลวงพ่ออินทร์ วัดยางเป็นพระอุปฌาย์ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า จันทสุวัณโณ และได้ศึกษาด้านวิชาอาคม เพิ่มเติมโดยฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง และได้ออกธุดงค์ศึกษากรรมฐานหายเข้าป่าหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ทราบข่าวการป่วยของบิดา จึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสียจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก และได้แต่งงานมีครอบครัว ส่วนลูกศิษย์เก่า ๆ ที่ได้จากการสักจากหลวงพ่อ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักกันเพิ่มขึ้นจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่มีบางคนที่ได้รับการสักยันต์จากหลวงพ่อแล้วกลับประพฤติตนเป็นอันธพาล จนทางตำรวจท้องที่ต้องขอร้องอาจารย์ยิด(ขณะนั้น) ให้เพลา ๆ การสักยันต์ลง

          ต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้ จนกระทั่งปี 2518 จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้วก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรีจ.ประจวบฯ ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์ และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน

มรณภาพ

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี 30 พรรษา

วัตถุมงคล

          หลวงพ่อยิด ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบทดลองสร้างดูพุทธคุณตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์ยิด โดยสร้างเป็นตะกรุดเพียงไม่กี่ดอก ได้มาเริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบจริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนสร้างวัดหนองจอกนี่เอง โดยสร้างเป็นเหรียญรูปหล่อ และปลัดขิก และสร้างเรื่อยมา เพราะลูกศิษย์ลูกหาต่างแสวงหา เพราะต่างก็เชื่อมั่นในพุทธคุณของวัตถุมงคลที่หลวงพ่อจัดสร้างขึ้น

          ปัจจุบัน วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดได้รับความนิยมมาก แต่ราคายังถูกอยู่คือ จะอยู่ประมาณ หลักร้อยถึงหลักพันต้น ถ้าสนใจอยากบูชาไว้คุ้มครองตัว ให้จดจำลักษณะให้ดีแล้วจะได้ของดีไว้บูชา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          ปลัดขิก ซึ่งมีทั้งสร้างจากโลหะ และไม้ชนิดต่างฯ

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ
 
 

พระเครื่องอื่น ๆ
หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
หลวงพ่อยิด
วัดหนองจอก

฿ 300 เช่าพระเครื่อง รายละเอียด

 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

ชุดน้ำยาทำผิวรุ้ง ผิวสวย พระเครื่องเนื้อทองแดง 

500 บาท


ชุดน้ำยารมดำและน้ำตาล ทองเหลือง ทองแดง 

450 บาท


น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

250 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด